มิติใหม่ของ “การเรียนรู้” ที่ยืดหยุ่นไปไกลถึงในชุมชน

เมื่อทางเลือกของการเรียนรู้ในยุคปัจจุบัน ไม่ได้จำกัดกรอบอยู่แค่ ภายใน “ห้องเรียน” เพื่อเป็นการสลายปมคำว่า “การศึกษาในระบบ- นอกระบบ” และร่วมกันหาแนวทางใหม่ๆมาช่วยปิดช่องโหว่ของระบบการศึกษาไทย  จึงเกิดเป็นการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ที่ยืดหยุ่นและตอบโจทย์กับทุกคนมากขึ้น . รู้จักการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น การเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น (Flexible Learning) คือ หนึ่งในแนวทางการศึกษาที่เปิดช่องทางให้แก่ผู้เรียนได้เลือกรูปแบบการเรียนที่ตอบโจทย์ตนเอง นอกจากจะเป็นทางเลือกที่ดีที่จะช่วยลดจำนวนเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษาแล้ว การเรียนรู้ยังยืดหยุ่นไปถึงการสร้างองค์ความรู้ให้กับคนในชุมชน โดยการยกระดับชุมชน หรืออาจจะกล่าวได้ว่า “การเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น เป็นการลบภาพจำที่ว่า การศึกษา = โรงเรียน” เพราะการศึกษาในยุคใหม่ ต้องช่วยพัฒนาและสนับสนุนผู้เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลาและทุกสถานการณ์ ที่สำคัญคือทุกคนต้องสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียมกัน . จุดมุ่งหมาย เพื่อค้นหาและพาผู้เรียนกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาอีกครั้ง และลดจำนวนผู้ที่หลุดออกจากระบบการศึกษาลง…

ก.ค.ศ.เห็นชอบใช้นวัตกรรมเลื่อนวิทยฐานะครู มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นสำคัญ เริ่ม 1 ต.ค.นี้

เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2567 ที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 3/2567 โดยมี พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ) เป็นประธานการประชุม และมีรศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. เป็นเลขานุการการประชุม ได้มีมติเห็นชอบ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้มีผลงานการสร้างและพัฒนานวัตกรรม เลื่อนเป็นวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญและวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ โดยกำหนดเพิ่มเติมเป็นหมวด 7 และหมวด8 ในหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู (ว9/2564) ในการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ที่มีผลงานการสร้างและพัฒนานวัตกรรมตาม…

ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ปัญหาลุกลามในสังคมไทยที่ไม่ได้มีต้นเหตุแค่เรื่องฐานะเท่านั้น – บทสัมภาษณ์ ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค

  ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่ลุกลามอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อปัญหาทางด้านสุขภาพของประชาชนเท่านั้น อีกหนึ่งกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบที่ไม่ควรมองข้าม คือ “เด็กและเยาวชน” สถานการณ์การแพร่ระบาดในครั้งนี้ลุกลามชีวิตของพวกเขาเกินกว่าจะแก้ไขจัดการได้โดยตนเอง   ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค รักษาการผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (วสศ.) ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ว่า สถานการณ์โควิด 19 กลายเป็นต้นเหตุที่ผลักให้เด็กไทยหลายคนหลุดจากระบบการศึกษา อาจเป็นครอบครัวที่มีฐานะยากจนอยู่แล้ว หรือไม่ได้ยากจนมาก่อน เมื่อเผชิญหน้ากับเศรษฐกิจในยุคโควิด 19 นี้ทำให้รายได้ถดถอย จนเกิดสถานการณ์ยากจนเฉียบพลัน การศึกษากลายเป็นหนทางในการลดค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือน เด็กชนชั้นกลางที่พ่อแม่ไม่มีกำลังทรัพย์ในการจ่ายค่าเทอมต่อไป แม้ต้องการจะย้ายไปโรงเรียนที่มีขนาดเล็กกว่าเดิมเพื่อหวังลดค่าใช้จ่ายก็ไม่สามารถย้ายได้เพราะค้างค่าใช้จ่ายจากโรงเรียนเดิม ด้วยเหตุผลต่าง ๆ เหล่านี้ ยิ่งทำให้ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในประเทศไทยมีช่องว่างเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ…