มิติใหม่ของ “การเรียนรู้” ที่ยืดหยุ่นไปไกลถึงในชุมชน

เมื่อทางเลือกของการเรียนรู้ในยุคปัจจุบัน ไม่ได้จำกัดกรอบอยู่แค่ ภายใน “ห้องเรียน” เพื่อเป็นการสลายปมคำว่า “การศึกษาในระบบ- นอกระบบ” และร่วมกันหาแนวทางใหม่ๆมาช่วยปิดช่องโหว่ของระบบการศึกษาไทย  จึงเกิดเป็นการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ที่ยืดหยุ่นและตอบโจทย์กับทุกคนมากขึ้น . รู้จักการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น การเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น (Flexible Learning) คือ หนึ่งในแนวทางการศึกษาที่เปิดช่องทางให้แก่ผู้เรียนได้เลือกรูปแบบการเรียนที่ตอบโจทย์ตนเอง นอกจากจะเป็นทางเลือกที่ดีที่จะช่วยลดจำนวนเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษาแล้ว การเรียนรู้ยังยืดหยุ่นไปถึงการสร้างองค์ความรู้ให้กับคนในชุมชน โดยการยกระดับชุมชน หรืออาจจะกล่าวได้ว่า “การเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น เป็นการลบภาพจำที่ว่า การศึกษา = โรงเรียน” เพราะการศึกษาในยุคใหม่ ต้องช่วยพัฒนาและสนับสนุนผู้เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลาและทุกสถานการณ์ ที่สำคัญคือทุกคนต้องสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียมกัน . จุดมุ่งหมาย เพื่อค้นหาและพาผู้เรียนกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาอีกครั้ง และลดจำนวนผู้ที่หลุดออกจากระบบการศึกษาลง…

ก้าวแรก การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning : PBL)

ดาวน์โหลดเอกสารก้าวแรกการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning : PBL) โดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ หน้าที่หลักของครู คือ การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน พร้อมทั้งมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ จนเกิดสมรรถนะหลักตามเป้าประสงค์หลักสูตร ดังนั้น การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning: PBL) นับได้ว่าเป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถพัฒนานักเรียนให้บรรลุตามเป้าหมายได้เป็นอย่างดียิ่งและเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสําคัญ โดยมีครูเป็นผู้ให้การส่งเสริมสนับสนุนในการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน ความหมายของการการจัดการเรียนรู้แบบ PBL การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning: PBL) หมายถึง การเรียนรู้ที่จัดประสบการณ์ในการปฏิบัติงานให้แก่นักเรียนเหมือนกับการทํางานในชีวิตจริงอย่างมีระบบ เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีประสบการณ์ตรง ได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาจากสถานการณ์ ใช้วิธีการหาความรู้ความจริงอย่างมีเหตุผล ได้ออกแบบประดิษฐ์ชิ้นงาน…

มากกว่าการเป็นครู คือเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Facilitation

Facilitation เป็นกระบวนการที่กระตุ้นการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนและกระตุ้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่ได้ด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ (Facilitator) หรือเรียกสั้นๆว่า “FA” ซึ่งมีหน้าที่หลักในการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผ่านการออกแบบกิจกรรม โดยนำแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning มาปรับใช้เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริง กระตุ้นกระบวนการคิด การแก้ปัญหา ให้อิสระทางความคิดและเน้นสร้างพื้นที่ปลอดภัยเพื่อให้ผู้เรียนได้เปิดใจเรียนรู้อย่างเต็มที่ Facilitation จึงเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และปรับเปลี่ยนบทบาทของครู จาก ผู้สอน เป็น ผู้อำนวยการเรียนรู้ หัวใจหลักของกระบวนการ Facilitation  คือ เน้นสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน สร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้นในภายในชั้นเรียนโดยการเปิดพื้นที่ให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ เป็นผู้ฟังที่ดีและเคารพซึ่งกันและกัน หน้าที่ของผู้สอน ในบทบาท FA…

“มหาวิชชาลัยสูงวัย” แหล่งตลาดวิชาแห่งใหม่ ที่ตอบโจทย์ผู้สูงวัย

“มหาวิชชาลัยสูงวัย”  เป็นแหล่งตลาดวิชาแห่งใหม่ภายใต้โครงการ 1 ภาควิชา 1 ชุมชน ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือกันระหว่างภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับเทศบาลตำบลท่าขนุน ร่วมกันก่อตั้งมหาวิทยาลัยวัยที่ 3  ในนาม “มหาวิชชาลัยสูงวัย” ตามแนวคิดการสร้างแหล่งตลาดวิชาที่พร้อมให้ความรู้แก่คนทุกเพศ ทุกวัย โดยมีเป้าหมายคือการลดช่องว่างระหว่างวัย เพิ่มการเข้าถึงเทคโนโลยีให้แก่ผู้สูงวัยเพื่อให้ทั้งกลุ่มผู้สูงวัย วัยทำงาน รวมทั้งวัยเด็กสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข จากการที่ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิตเป็นหลักสูตรที่ให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้สูงวัยเป็นหลักและเป็นภาควิชาที่มีบุคลากรที่เชี่ยวชาญในด้านนี้ ประกอบกับการที่เทศบาลตำบลท่าขนุนมีความสนใจจะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะคล้ายโรงเรียนผู้สูงอายุ ดังนั้น จึงทำให้เกิดเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนขึ้น  โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ร่วมกัน เนื่องจากเชื่อว่าการทำงานร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชน จะทำให้เกิดแนวคิดใหม่ร่วมกัน เกิดการแบ่งปันค่านิยมร่วม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการผนึกกำลังและผนึกแรงความคิดระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชน เทศบาลตำบลท่าขนุนเป็นโจทย์สำคัญในการออกแบบการเรียนรู้ให้แก่ผู้สูงวัยเนื่องจากมีผู้นำที่คอยขับเคลื่อน ช่วยให้ผู้สูงอายุมีความกระตือรือร้นอยากจะเรียนรู้ ประกอบกับการที่ภาควิชามุ่งทำงานที่ตอบโจทย์ความต้องการของคนในพื้นที่…