สรุปความคิดเห็น “ความเหลื่อมล้ำของการศึกษาไทย” ที่เห็นได้ชัดที่สุด คืออะไร?

“ความเหลื่อมล้ำของการศึกษาไทย” ที่เห็นได้ชัดที่สุด คืออะไร? จากการสำรวจความคิดเห็นของชุมชนชาว Eduzones พบว่า มีผู้คนเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างหลากหลาย โดยความคิดเห็นบางส่วนสะท้อนในมุมมองที่ว่า “ความเหลื่อมล้ำของการศึกษาไทย” สามารถเห็นได้อย่างชัดเจน จนไม่สามารถอธิบายออกมาเป็นคำพูดได้หมด  ในขณะที่มีความคิดเห็นบางส่วนมองว่า มุมมองเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำเป็นเรื่องของความคิดส่วนบุคคล พร้อมทั้งมองว่าทุกคนสามารถเท่าเทียมกันได้เพราะทุกอย่างขึ้นอยู่กับศักยภาพ ความขยันและความพยายามของตนเอง วันนี้ ทาง Eduzones จึงได้รวบรวมและสรุปความคิดเห็นในประเด็นที่ว่า “ความเหลื่อมล้ำของการศึกษาไทย” ที่เห็นชัดที่สุด คืออะไร? โดยได้แบ่งออกเป็น 5 ประเด็นหลัก ดังนี้ “ความเหลื่อมล้ำของการศึกษาไทย” ที่เห็นได้ชัดที่สุด คือ… 1. การเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาที่ไม่เท่าเทียมกัน ความเหลื่อมล้ำของการศึกษาที่เห็นได้ชัด…

ผลสำรวจกสศ. พบ! 87.54% ของนักเรียนยากจน ไม่สามารถเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยได้ในปีการศึกษา 2566

หลังจากการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมานั้น ส่งผลให้เศรษฐกิจของไทยเกิดวิกฤติอย่างมากมายมหาศาล เห็นได้ชัดจากสถานการณ์เงินเฟ้อที่ทำให้ค่าครองชีพต่าง ๆ แพงขึ้น สิ่งเหล่านี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเร่งให้สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษานั้นรุนแรงยิ่งขึ้นไปอีก เพราะเมื่อค่าครองชีพสูง ก็จะทำให้ผู้ปกครองมีกำลังจ่ายลดลง และไม่สามารถแบกรับภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาได้ ดังนั้นภาวะความยากจนจึงเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้เด็กบางคนต้องออกจากระบบการศึกษาไปในที่สุด เมื่อความเป็นอยู่ขัดข้อง เรื่องของปากท้องก็ย่อมมาก่อนเรื่องอื่น ๆ จากรายงานสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาปี 2566 สำรวจโดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) พบว่าในปี 2566 ประเทศไทยนั้นมีนักเรียนจากครัวเรือนยากจนพิเศษเป็นจำนวนถึง 1,248,861 คน ซึ่งเมื่อนำมาเทียบกับปี 2563 ที่จำนวนยังไม่ถึงหลักล้าน คือ 994,428 คน   นักเรียนยากจนพิเศษ (Extremely…
INSPIRE IDOL : อ.อิ๊ก ครูผู้มี "passion" ที่อยากสร้างความเปลี่ยนแปลง

INSPIRE IDOL : อ.อิ๊ก ครูผู้มี “passion” ที่อยากสร้างความเปลี่ยนแปลง

‘อาจารย์อิ๊ก’ ณัฐวรินธร บวรภัควุฒิสิริ   ผู้หญิงเก่งที่ผ่านการทำงานมากมากมายในบทบาทที่หลายหลายไม่ว่าจะเป็นอาจารย์พิเศษโรงเรียนนายร้อยตำรวจสอนมา 10 กว่าปี อาจารย์พิเศษด้านการตลาดออนไลน์อีกหลายมหาวิทยาลัย รวมถึงเป็นหนึ่งในทีมโฆษกกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม และเป็นอนุกรรมการบริหารทรัพยากรบุคคลสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ . จุดเริ่มต้นของอาจารย์อิ๊กเติบโตมาในฐานะคนชั้นกลาง(เกือบล่าง)ของประเทศ อาจารย์อิ๊กเติบโตมาในครอบครัวฐานะปานกลาง แม้จะอาศัยอยู่ในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครแต่ก็เกือบหลุดเข้าฝั่งปริมณฑล อาจารย์อิ๊กใช้ชีวิตมัธยมด้วยการไปยืนรอรถเมล์ที่ป้ายเก่าๆ โทรมๆ ทุกครั้งที่ฝนตก ผู้คนแถวนั้นก็ทำได้เพียงเบียดกันเข้ามาหลบฝนในป้ายเล็กๆ หรือแม้แต่เวลาที่ท้องฟ้าปลอดโปร่ง เก้าอี้ที่ป้ายรถเมล์ก็ไม่เคยเพียงพอผู้คนที่ต้องการใช้งานมัน ทำได้แค่รอรถเมล์ที่ใช้เวลานานแสนนานกว่าจะมาถึง แม้จะได้ขึ้นรถเมล์ก็ยังต้องใช้เวลาเดินทาง นับครั้งได้ที่ขึ้นรถเมล์แล้วอาจารย์อิ๊กจะได้นั่งอย่างสบายใจ แต่การเดินทางของอาจารย์อิ๊กก็ไม่จบเพียงเท่านั้น หลังจากที่เดินทางมาถึงป้ายรถเมล์แล้ว เธอก็ยังต้องใช้เวลาเดินข้ามสะพานลอย ก่อนขึ้นมอเตอร์ไซด์ ตามด้วยเดินทางข้ามคลองถึงจะได้ถึงโรงเรียนของเธอจริงๆ . เพราะเหตุการณ์วนลูปในแต่ละวันเหล่านี้ ทำให้อาจารย์อิ๊กเกิดคำถามกับตัวเองว่า ทำไมระบบสาธารณูปโภคในไทยที่ไม่ดีกว่านี้ ทำไมประชาชนต้องใช้ชีวิตในแต่ละวันไปด้วยความยากลำบาก…

ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ปัญหาลุกลามในสังคมไทยที่ไม่ได้มีต้นเหตุแค่เรื่องฐานะเท่านั้น – บทสัมภาษณ์ ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค

  ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่ลุกลามอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อปัญหาทางด้านสุขภาพของประชาชนเท่านั้น อีกหนึ่งกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบที่ไม่ควรมองข้าม คือ “เด็กและเยาวชน” สถานการณ์การแพร่ระบาดในครั้งนี้ลุกลามชีวิตของพวกเขาเกินกว่าจะแก้ไขจัดการได้โดยตนเอง   ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค รักษาการผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (วสศ.) ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ว่า สถานการณ์โควิด 19 กลายเป็นต้นเหตุที่ผลักให้เด็กไทยหลายคนหลุดจากระบบการศึกษา อาจเป็นครอบครัวที่มีฐานะยากจนอยู่แล้ว หรือไม่ได้ยากจนมาก่อน เมื่อเผชิญหน้ากับเศรษฐกิจในยุคโควิด 19 นี้ทำให้รายได้ถดถอย จนเกิดสถานการณ์ยากจนเฉียบพลัน การศึกษากลายเป็นหนทางในการลดค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือน เด็กชนชั้นกลางที่พ่อแม่ไม่มีกำลังทรัพย์ในการจ่ายค่าเทอมต่อไป แม้ต้องการจะย้ายไปโรงเรียนที่มีขนาดเล็กกว่าเดิมเพื่อหวังลดค่าใช้จ่ายก็ไม่สามารถย้ายได้เพราะค้างค่าใช้จ่ายจากโรงเรียนเดิม ด้วยเหตุผลต่าง ๆ เหล่านี้ ยิ่งทำให้ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในประเทศไทยมีช่องว่างเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ…