ดร.เอนก เจรจา รมว.ศึกษาธิการ ญี่ปุ่น เศรษฐกิจ เทคโนโลยีอวกาศ และเครื่องซินโครตรอน – 17 กรกฎาคม 2565

. เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2565 ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) กล่าวภจากการประชุมหารือกับนายชินสุเกะ ซุเอมัทสุ รมว.ศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (MEXT) ญี่ปุ่น พร้อมด้วยเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ได้ผลดังนี้ . อว.จับมือชกับ กระทรวงศึกษาธิการฯ ของญี่ปุ่น ดำเนินโครงการผลิตวิศวกรนักปฏิบัติ หรือ…

ส่องระบบการศึกษาของญี่ปุ่น…และเหตุผลที่ทำให้การศึกษาญี่ปุ่นถูกยกย่องในระดับเอเชีย

ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทั้งด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม เศรษฐกิจ รวมไปถึงระบบการศึกษา ระบบการศึกษาของญี่ปุ่นติดอันดับทั้งในระดับเอเชียแลพระดับโลก วันนี้เราจึงจะพาทุกคนไปรู้จักกับระบบการศึกษาของญี่ปุ่นและเหตุผลที่ทำให้การศึกษาของประเทศนี้ก้าวมาเป็นอันดับต้นๆ ในระดับเอเชียกันค่ะ       การศึกษาของญี่ปุ่นนั้นแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับคือ ระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง   การศึกษาระดับต้น ได้แก่ การศึกษาขั้นอนุบาล ซึ่งเริ่มเข้าศึกษาตั้งแต่อายุ 3 ปีไปจนถึงอายุ 5 ปี และขั้นประถมศึกษา 1-6 ตั้งแต่อายุ 6 ปีไปจนถึง 12 ปีโดยประมาณ…

ส่องที่พักของนักเรียนต่างชาติในญี่ปุ่น!

ในการไปศึกษาต่อต่างประเทศนอกจากคณะหรือมหาวิทยาลัยที่เราต้องหาข้อมูลและตัดสินใจเลือกให้ดีแล้ว สิ่งที่สำคัญอีกหนึ่งอย่างก็คือ “ที่พัก” เพราะเป็นอีกสถานที่ที่เราต้องใช้ชีวิตอยู่ในตลอดระยะเวลาที่เรียน วันนี้เราจึงมีหอพักสำหรับนักเรียนต่างชาติในญี่ปุ่นมาแนะนำกันค่ะ     ที่ญี่ปุ่นจะแบ่งประเภทที่พักออกเป็นดังนี้ -หอพัก -Homestays -ที่พักส่วนตัว -บ้านไกจิน (Gaijin Houses)   หอพัก หอพักจะถูกจัดไว้ให้กับนักเรียนโดยมหาวิทยาลัยอยู่แล้ว โดยปกติในหนึ่งห้องจะแชร์กันอยู่ประมาณ 2-3 คน ซึ่งในชั้นนั้นก็จะประกอบไปด้วยห้องครัวและห้องน้ำที่ห้องเราจะต้องใช้ร่วมกับห้องอื่น ๆ ค่ะ หอพักเป็นสถานที่ที่ดีที่จะทำให้เพื่อน ๆ รู้จักกับคนอื่นในมหาวิทยาลัย เพราะคนที่มีสิทธิ์จะพักในหอพักได้จะมีเพียงนักเรียนของมหาวิทยาลัยเท่านั้น นอกจากนั้นหอพักยังเป็นตัวเลือกที่ใกล้กับมหาวิทยาลัยมากที่สุด ดังนั้นเพื่อน ๆ ก็จะสามารถประหยัดค่าเดินไปได้อีกด้วย  …

ญี่ปุ่นเจอวิกฤติ “Futoko” ปรากฏการณ์เด็กไม่ไปโรงเรียนมากที่สุดเป็นประวัติการณ์!

    ปัญหาที่หลายคนคงเคยประสบกับตัวเอง รวมถึงการส่งลูกหลานไปโรงเรียนก็คือ ปัญหาการไม่อยากไปโรงเรียนของเด็กๆ ที่อาจจะมีการร้องไห้งองแงในเด็กเล็ก หรือเกิดการแสดงออกถึงความต่อต้านในเด็กวัยที่โตขึ้นกันมาบ้าง ซึ่งก็ถือเป็นปัญหาคลาสสิกที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องพบเจอกัน แต่ปัญหาสุดคลาสสิกนี้กำลังกลายเป็นวิกฤติในประเทศญี่ปุ่น เพราะปัญหานี้กลายเป็นปรากฏการณ์ fotoku คือการไม่ยอมไปโรงเรียนของเด็กๆ ที่สูงที่สุดในประวัติการณ์ของญี่ปุ่น   ฟูโตโกะ (futoko) ถูกนำมาแปลเป็นภาษาอังกฤษด้วยกันหลายความหมายตั้งแต่ การขาดเรียน หนีโรงเรียน กลัวโรงเรียน หรือไม่ยอมไปโรงเรียน โดยเกณฑ์ที่กระทรวงศึกษาธิการของญี่ปุ่น นิยามว่าเป็น futoko คือ เด็กที่ไม่ได้ไปโรงเรียนมากกว่า 30 วันด้วยเหตุผลที่ไม่เกี่ยวข้องกับสุขภาพหรือการเงิน        …

ฉีกทุกกฎการรับปริญญา! แฟชั่นชุดรับปริญญาสุดครีเอท ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งเกียวโต

      ถ้านึกถึงพิธีการรับปริญญาในบ้านเราหลายคนก็คงจะต้องนึกถึง “ชุดครุย” หรือชุดพิธีการสำหรับเข้ารับของแต่ละมหาวิทยาลัย แต่สำหรับที่ประเทศแห่งความครีเอท และสร้างสรรค์อย่างประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะที่มหาวิทยาลัย Kyoto University of Arts and Design มหาวิทยาลัยศิลปะและการออกแบบของระดับแนวหน้าของประเทศญี่ปุ่นนั้น ไม่ใช่แบบนั้น การรับปริญญาของที่นี่จะทำให้เราลืมภาพชุดรับปริญญาแบบเดิมๆ ออกไปเลย     เพราะที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้เปิดอิสระให้บัณฑิตใส่ชุดอะไรก็ได้สำหรับเข้ารับประกาศนียบัตร ด้วยที่มหาวิทยาลัยศิลปะแห่งนี้ไม่มียูนิฟอร์มของมหาวิทยาลัยอยู่แล้ว ดังนั้นในวันปริญญาจึงเปิดโอกาสให้บัณฑิตทุกคนได้ใส่ชุดรับปริญญาตามสไตล์ของตนเองได้ตามใจชอบ ทำให้เกิดเป็นกระแสฮือฮากันทุกปี เพราะชุดที่บัณฑิตหลายคนใส่มารับนั้นไม่ใช่ชุดไปรเวท หรือชุดธรรมดาทั่วไป แต่เป็นการแต่ง “คอสเพลย์” เข้ารับปริญญา โดยที่ชุดของแต่ละคนก็มีตั้งแต่ ซุปเปอร์ฮีโร่ การ์ตูนดังของญี่ปุ่น…

“การศึกษา” เครื่องมือสำคัญในการสร้างคนเก่ง คนดี มีวินัย ของประเทศญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นให้ความสาคัญต่อการสร้างพลเมืองคุณภาพแห่งศตวรรษที่ 21 ด้วยการมองไปในอนาคตว่า จะเกิดอะไรขึ้นในประเทศ ส่งผลกระทบอย่างไรต่อสังคม จึงมีการเตรียมคนให้พร้อม เพื่อให้มีทักษะ สอดคล้องกับยุคสมัยที่จะมาถึงในเร็ววันนี้ ซึ่งกระบวนการเตรียมคนเก่ง สร้างคนดี และฝึกคนให้มีวินัย ในแบบของญี่ปุ่นนั้น จะใช้ “การศึกษา” เป็นเครื่องมือสาคัญ เมื่อตระหนักว่าสังคมที่กำลังจะมาถึง เป็นสังคมที่มนุษย์ต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับความก้าวล้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ญี่ปุ่นจึงเน้นให้คนมีความเก่ง สามารถใช้ประโยชน์จากความเทคโนโลยีได้อย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกัน ก็ต้องเก่งในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ โดยอาศัยความรู้ ความเชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คนญี่ปุ่นได้รับการยอมรับเรื่องความเก่ง และความมีวินัย การศึกษาของญี่ปุ่นทั้งในระบบ และการเรียนรู้นอกห้องเรียน จึงมุ่งเน้นให้ทุกคนมีพื้นฐานทาง วิทยาศาสตร์ โดยตั้งเป้าหมายการเรียนรู้ไว้เป็น 3 ระดับ…