จุฬาฯ รุกกลยุทธ์ “ปลูกต้นไม้-ได้เห็ด” จูงใจเกษตรกรน่านและสระบุรี ร่วมรักษ์ป่า    

นักวิชาการคณะวิทยาศาสตร์ และศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ ประสบความสำเร็จในการปลูกป่าที่จังหวัดน่านและสระบุรี ด้วยนวัตกรรมกล้าไม้ที่มีราเอคโตไมคอร์ไรซา สร้างแรงจูงใจให้ชาวบ้านและเกษตรกร “ปลูกป่า ได้เห็ด” สร้างอาชีพ เสริมรายได้ ผืนป่าในประเทศไทยมีจำนวนลดน้อยลงอย่างน่าใจหาย หลายแห่งกลายเป็นเขาหัวโล้นและพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมที่ดูจะสิ้นหวังในการฟื้นฟู แม้ที่ผ่านมา หลายภาคส่วนจะพยายามรณรงค์ให้มีการปลูกป่าทดแทน แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เนื่องจากการปลูกป่าใช้ระยะเวลานาน และที่สำคัญ ต้องการความร่วมมือจากชาวบ้านในพื้นที่ในการร่วมปลูกและดูแลรักษาป่าอย่างต่อเนื่อง อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ จึงพยายามหาแนวทางที่จะสร้างแรงจูงใจและดึงให้ชาวบ้านมาเป็นแนวร่วมผู้ปลูกและพิทักษ์ป่า และคำตอบของโจทย์นี้อยู่ที่ราเอคโตไมคอร์ไรซา “เราให้ชาวบ้านปลูกป่าประเภทไม้วงศ์ยาง ซึ่งนอกจากจะได้ต้นไม้ที่จะเติบใหญ่เป็นป่าในอนาคตแล้ว ยังได้ “เห็ด” หลายชนิดที่ขึ้นบริเวณรากต้นไม้เป็นผลพลอยได้ ช่วยเพิ่มช่องทางหาเลี้ยงชีพให้ชาวบ้านและเกษตรกรไทย” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล…