3 คอร์สเรียนสนุกๆ ช่วยอัปสกิลจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

สวัสดีน้องๆ มัธยม รวมถึงพ่อแม่ผู้ปกครองที่น่ารักทุกท่าน! ใครที่กำลังมองหาคอร์สสนุกๆ ที่ได้ทั้งลงมือทำจริง แถมปูพื้นฐานสายดิจิทัลไว้ต่อยอดในอนาคต… ห้ามพลาด! สาขามีเดียเทคโนโลยี มจธ. (KMUTT) ขอชวนมาอัปสกิลแบบจัดเต็มกับ “คอร์สอัปสกิล” ที่คัดมาแล้วว่าสนุก เข้าใจง่าย และได้ประสบการณ์จริงแน่นอน มีให้เลือกถึง 3 คอร์สสุดปัง: PYTHON ARCADE – เรียนโค้ดเกมสนุกๆ ด้วยภาษา Python BASIC UNITY – เริ่มสร้างเกมของตัวเองจาก 0 ด้วย Unity 3D…

มจธ. ฟื้นฟูผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงด้วย “หุ่นยนต์ + AI + เกม” ความหวังใหม่ในยุคสังคมสูงวัย

ทีมนักวิจัย มจธ. พัฒนาหุ่นยนต์ต้นแบบช่วยกายภาพบำบัดผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยผสานเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และเกมเข้าไว้ด้วยกัน ช่วยให้การฟื้นฟูร่างกายแม่นยำ สนุก และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ โดยข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติและหน่วยงานด้านประชากรศาสตร์คาดการณ์ว่า ภายในปี 2583 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 32% ของประชากรทั้งหมด หรือประมาณ 20 ล้านคน ซึ่งนำมาสู่การเพิ่มขึ้นของโรคเรื้อรังและภาวะเสื่อมของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (ALS – Amyotrophic Lateral Sclerosis) และโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงไมแอสทีเนียเกรวิส (MG – Myasthenia Gravis) ที่ส่งผลให้ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง และไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในที่สุด การกายภาพบำบัดจึงเป็นส่วนสำคัญในการดูแลผู้ป่วย เพื่อยืดอายุการทำงานของกล้ามเนื้อและรักษาคุณภาพชีวิต อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยจำนวนมากไม่สามารถทำกายภาพได้ต่อเนื่อง…

จากสามร้อยยอด สู่ทะเลสาบสงขลา เส้นทางการอนุรักษ์เสือปลาด้วยงานวิจัย

จากสถานะใกล้สูญพันธ์ของเสือปลาทำให้เกิดความร่วมมือจากหลายฝ่ายเพื่อหาแนวทางในการอนุรักษ์สัตว์ผู้ล่าชนิดนี้ โดยใช้พื้นที่เขาสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยใหญ่สุดของเสือปลาในประเทศไทยเป็นพื้นที่วิจัย เช่น โครงการอนุรักษ์เสือปลาอย่างยั่งยืนในพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ที่ต้องการสร้างฐานข้อมูลของเสือปลาในพื้นที่เขาสามร้อยยอด เพื่อเป็นข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้ประกอบการกำหนดแนวทางการอนุรักษ์ต่อไป โดยจากการวิเคราะห์ภาพจากกล้องดักถ่ายสัตว์จำนวน 50 จุด ในพื้นที่เขาสามร้อยยอด พบว่าจำนวนเสือปลาในพื้นที่เขาสามร้อยยอดมีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งของเสือปลาที่ถ่ายภาพได้ในปี 2567 เป็นเสือปลาตัวที่ไม่เคยถูกถ่ายภาพเมื่อสามปีก่อน “จากข้อมูลข้างต้นแสดงว่าอัตราการแทนที่ของเสือปลาตัวเก่าด้วยเสือปลาตัวใหม่อยู่ที่ 76 – 80 เปอร์เซ็นต์ หรือคิดเป็นอัตราการรอด 50 เปอร์เซ็นต์ นั่นคือหากปีนี้พื้นที่เขาสามร้อยยอดมีเสือปลาอยู่ 100 ตัว ก็จะมีเพียง 50 ตัวที่จะอยู่รอดไปถึงปีหน้า” ผศ.ดร.นฤมล ตันติพิษณุ นักวิจัยโครงการอนุรักษ์เสือปลาอย่างยั่งยืนในพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย กลุ่มวิจัยนิเวศวิทยาการอนุรักษ์ สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ มจธ. ให้ข้อมูลถึงสถานภาพปัจจุบันของเสือปลาที่เขาสามร้อยยอด ผศ.ดร.นฤมล กล่าวต่อว่า…

อาคารของคุณปลอดภัยแค่ไหน? มจธ. แนะตรวจอาคารเบื้องต้น ลดเสี่ยงระยะยาว

หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ซึ่งแรงสั่นสะเทือนสามารถรับรู้ได้ในหลายพื้นที่ของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทำให้เกิดความกังวลในหมู่ประชาชนเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาคาร โดยเฉพาะอาคารสูงที่มีผู้อยู่อาศัยและทำงานจำนวนมาก ล่าสุดเมื่อวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้จัดการอบรมหัวข้อ “กรณีศึกษาจากการตรวจอาคารจากแผ่นดินไหว, ข้อกฎหมาย และแนวทางการตรวจสอบ” เพื่อให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบความเสียหายของอาคารเบื้องต้นหลังเกิดแผ่นดินไหว รวมถึงการใช้คู่มือการสำรวจความเสียหายที่กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย จัดทำขึ้นในปี 2560 รศ.ดร.สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญวิศวกรรมด้านแผ่นดินไหว อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. กล่าวว่า อาคารที่ก่อสร้างตามมาตรฐานในปัจจุบัน มีการออกแบบ ก่อสร้าง และใช้งานที่ถูกประเภท ยังคงมีความปลอดภัยเพียงพอในสถานการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น “หากเป็นอาคารที่ออกแบบและก่อสร้างอาคารตามมาตรฐานปัจจุบัน ระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหวในครั้งนี้ ไม่น่าจะสร้างความเสียหายมากกับโครงสร้างของตัวอาคารในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลได้ หรือหากจะมีความเสียหายเกิดขึ้น อาจจะเกิดเล็กน้อยกับที่เป็นโครงสร้างหลัก หรือ…

มจธ. คิดค้น “นวัตกรรมการผลิตซิลิกาด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ” ต้นทุนต่ำ คุณภาพสูง พร้อมพลิกโฉมอุตสาหกรรมไทย

นักวิจัย มจธ.พัฒนากระบวนการผลิต ไบโอซิลิกา (Biosilica) จากแกลบข้าว ด้วยกระบวนการชีวภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและไร้สารเคมีตกค้าง พร้อมส่งต่อเทคโนโลยีเพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เครื่องสำอาง เวชสำอาง ยา และยาง ซึ่งเป็นก้าวสำคัญที่ช่วยให้ประเทศไทยลดการพึ่งพาซิลิกานำเข้า และส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนของประเทศ ซิลิกา (Silica) เป็นวัตถุดิบสำคัญในหลายอุตสาหกรรมของไทย ตั้งแต่ยางรถยนต์ เครื่องสำอาง เวชภัณฑ์ อิเล็กทรอนิกส์ ไปจนถึงวัสดุก่อสร้าง ทำให้มีความต้องการใช้สูงมาก อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยสามารถผลิตได้เพียง 40% ของความต้องการ ส่วนที่เหลือยังต้องนำเข้าด้วยต้นทุนที่สูง ซึ่งได้รับผลกระทบจากราคาพลังงานและความผันผวนของเศรษฐกิจโลก การพัฒนาแหล่งผลิตซิลิกาภายในประเทศจึงเป็นกุญแจสำคัญในการลดการพึ่งพาการนำเข้า สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยบนเวทีโลก จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้ ผศ. ดร.สิริลักษณ์ เจียรากร อาจารย์ประจำคณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี…

มจพ. เปิดตัวผลงานวิจัย รถมินิบัสไฟฟ้า เชื่อมต่อการเดินทางระบบขนส่งสาธารณะ พัฒนาคุณภาพชีวิต

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ได้ทำการจัดงานเปิดตัวรถมินิบัสไฟฟ้าสำหรับระบบขนส่งสาธารณะระบบรองหรือเรียกชื่อเต็มว่า (Electric Mini Bus Prototype for Feeder Public Transport System) ซึ่งถือว่าเป็นความสำเร็จจากโครงการวิจัยของทีมนักวิจัย มจพ. โดยเฉพาะ นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยยุทธ์ สัมภวะคุปต์ ที่ได้รับทุนสนับสนุน จากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จัดสรรโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.)  และยังมีบริษัท เชิดชัย คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นหน่วยงานร่วมโครการ  โดยรถมินิบัสไฟฟ้าคันแรกนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อตอบสนองความต้องการการเดินทางเข้าสู่ระบบขนส่งสาธารณะของนักศึกษา  โดย ศาสตราจารย์ ดร.ธานินทร์ ศิลป์จารุ…

มจธ. ประกาศ จำนวนรับและเกณฑ์การคัดเลือกในระบบ TCAS68 รอบที่ 3 Admission

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ประกาศ จำนวนรับและเกณฑ์การคัดเลือก ผ่าน #TCAS68 รอบที่ 3 #Admission แล้ว คณะที่เปิดรับ – คณะวิศวกรรมศาสตร์ – คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี – คณะวิทยาศาสตร์ – คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ – สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม – วิทยาลัยสหวิทยาการ – คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ รับสมัคร วันที่ 6-12 พ.ค.68 สมัครกับ ทปอ. ที่…
ภาควิชาเทคโนโลยีมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดค่าย I-Dia Camp กับ 3 Workshop หมดเขตสมัคร 28 มิถุนายน 2566

ภาควิชาเทคโนโลยีมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดค่าย I-Dia Camp กับ 3 Workshop : หมดเขตสมัคร 28 มิถุนายน 2566

ภาควิชาเทคโนโลยีมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดค่าย I-Dia Camp กับ 3 Workshop : หมดเขตสมัคร 28 มิถุนายน 2566 . กำหนดการ สมัคร :13 มิถุนายน – 28 มิถุนายน 2566 ประกาศรายชื่อ : 2 กรกฎาคม 2566 ประกาศรายชื่อรอบ 2 : 5 กรกฎาคม…

เจาะลึกเรื่องน่ารู้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ชื่อภาษาอังกฤษว่า King Mongkut’s University of Technology Thonburi หรือชื่อย่อคือ KMUTT – มจธ.   ที่มาของชื่อมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศตั้ง “วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี ” 23 กรกฎาคม 2511 คณะรัฐมนตรีพิจารณาโครงการสถาบันเทคโนโลยี ธนบุรี ในที่ประชุม และเห็นชอบให้จัดตั้งได้ แต่ให้เรียกชื่อใหม่ว่า “วิทยาลัยเทคโนโลยี” กับให้รวมวิทยาลัย เทคนิคไทย-เยอรมัน…

#TCAS64 มจธ.เปิดรับสมัครนศ.ป.ตรี รอบที่ 3 (Admission 1-2) ตั้งแต่วันที่ 7-15 พ.ค. 64

  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เปิดรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี รอบที่ 3 (Admission 1 & Admission 2) ประจำปีการศึกษา 2564 โดยจะเปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 7-15 พฤษภาคม 2564   คณะที่เปิดรับสมัคร Admission 1 -คณะวิศวกรรมศาสตร์ -คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี -คณะวิทยาศาสตร์ -โครงการร่วมบริหารหลักสูตรมีเดียอาตส์และเทคโนโลยีมีเดีย -คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ -สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม -คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ Admission 2 -คณะวิศวกรรมศาสตร์ -คณะวิทยาศาสตร์…