เจาะลึก 4 กลุ่ม “วิศวกรรมศาสตร์ อินเตอร์” สจล. กับ 12 หลักสูตร สร้างโลกยุคใหม่เพื่อเจนอัลฟ่า

    ในโลกที่เทคโนโลยีทำให้เราเชื่อมโยงกันอย่างไร้พรมแดน ภาษากลายมาเป็นทักษะจำเป็นที่ต้องมีควบคู่ไปกับความรู้ในการทำงาน และ รู้หรือไม่ว่า! วิศวกรเป็นหนึ่งในกลุ่มแรงงานฝีมือ ที่สามารถเคลื่อนย้ายไปประกอบอาชีพได้ ในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ดังนั้น หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ ภาคอินเตอร์ จึงถูกออกแบบขึ้น เพื่อมาตอบโจทย์การเรียนรู้ในโลกยุคดิจิทัลในปัจจุบันนี้ ที่ทำลายข้อจำกัดด้านภาษาในการศึกษาศาสตร์ด้านวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) หนึ่งในสถาบันสอนวิศวกรรมศาสตร์ที่เก่าแก่และแข็งแกร่งแห่งหนึ่งของไทย ที่เปิดสอนวิศวกรรมศาสตร์ ภาคอินเตอร์ กว่า 10 หลักสูตร ซึ่งหลักสูตรทั้งหมดถูกยกเครื่อและออกแบบให้ทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและวิวัฒนาการของนวัตกรรมเสมอ และนักศึกษาที่จบการศึกษาจากวิศวกรรมศาสตร์ อินเตอร์ สจล. ได้รับการยอมรับและเข้าทำงานในองค์กรที่มีชื่อเสียงระดับโลก ทั้งในและต่างประเทศ สิ่งเหล่านี้คือเครื่องยืนยันที่ว่า วิศวกรรมศาสตร์…

รีวิว “กลุ่มหลักสูตรบริหาร ไอที และการบิน อินเตอร์ พระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง” กับการสร้างวัยรุ่นพันล้านรุ่นใหม่

  เคยสงสัยหรือไม่ว่า ถ้าอยากเรียนกลุ่มบริหารธุรกิจหรือการบิน และมีความฝันจะได้ทำงานในบริษัทที่เงินเดือนเริ่มต้นหลัก 30K – 50K ขึ้นไป ควรเลือกเรียนอะไรดี ตอบได้เลยว่า น้องๆ ต้องตั้งใจอ่านคอนเท้นนี้ดีๆ เพราะมีทางเลือกในหลายคณะที่สามารถตอบโจทย์เส้นทางอาชีพน้องๆ ได้ แต่สกิลที่ขาดไม่ได้เลยนั่นคือ ภาษาอังกฤษ เพราะนั่นคือทักษะพื้นฐานในการนำน้องๆ ไปสู่เป้าหมายได้ ถ้าหากเปรียบเทียบหลักสูตรอินเตอร์เหมือนชีวิตในโรงเรียนมัธยม ก็คงจะเทียบได้กับห้องเรียนพิเศษของเด็กมหาวิทยาลัย ความพิเศษของหลักสูตรอินเตอร์ พระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง คือ การให้น้องๆ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใช้ภาษาต่างประเทศทั้งในการเรียนและใช้ชีวิต การให้น้องๆ ได้เรียนรู้ผ่านการฝึกปฏิบัติจริง และการใช้ไอเดียในการสร้างสรรค์นวัตกรรม ซึ่งแต่ละสาขาวิชามีความพิเศษและเฉพาะตัวที่จะสร้างสรรค์ขึ้นมาได้ หลักสูตรกลุ่มบริหารธุรกิจ ไอที…

สจล. ชู ไอเดียครูลุคใหม่ เข้าถึงนักศึกษาในฐานะ “พี่” เน้นสร้างความเข้าใจ ได้ต่อไปในยุคดิจิทัล

ในโลกที่เด็กๆ สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้รอบตัวของพวกเขา และในอนาคตอินเตอร์เน็ตจะกลายเป็นครูที่ใกล้ชิดที่สุด ดังนั้น ครูในยุคดิจิทัลจำเป็นต้องปรับตัวไปตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เข้ามาดิสรัปพวกเราทุกคน โดยเฉพาะการเข้าถึงและเข้าใจนักศึกษา เป็นโค้ชที่สามารถให้คำปรึกษาได้ทั้งเรื่องเรียน เรื่องงาน และการใช้ชีวิต และการให้นักศึกษาเข้าถึงที่ดีที่สุดคือ การเข้าไปเป็นเพื่อนกับเขา ลดช่องว่างระหว่างอาจารย์และลูกศิษย์สู่การเป็นพี่น้อง ที่สามารถแชร์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้อย่างเป็นกันเอง ศาสตราจารย์ ดร. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) หรือ พี่เอ้ กล่าวว่า การลดช่องว่างระหว่างอาจารย์และลูกศิษย์ จะทำให้น้องๆ นักศึกษาเข้าถึงได้ และไม่ใช่แค่ที่ปรึกษาในด้านวิชาการเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องถ่ายทอดทักษะการใช้ชีวิตให้กับนักศึกษาได้อีกด้วย โดยที่อาจารย์และผู้บริหารจะเปลี่ยนแปลงตัวเองจากการเป็นโปรเฟสเซอร์ (Professor) มาดนักวิชาการสู่การเป็น “พี่” ที่ปรึกษามากประสบการณ์ และทำให้คำว่า “ครู” ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การสอน…