สสวท. พาชั้นเรียนเข้าใจความแตกต่างระหว่าง “ขนาดของแผ่นดินไหว” และ “ความรุนแรงของแผ่นดินไหว”

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เติมความเข้าใจชั้นเรียนและผู้สนใจ เรื่อง  ความแตกต่างระหว่าง “ขนาดของแผ่นดินไหว ”และ “ความรุนแรงของแผ่นดินไหว” โดยขนาดของแผ่นดินไหวคือพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวแต่ละครั้ง ส่วนความรุนแรงของแผ่นดินไหวคือผลที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ซึ่งรู้สึกถึงความสั่นสะเทือน ความเสียหายที่เกิดขึ้นและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำความเข้าใจ  “ความรุนแรง” ทั้ง 12 ระดับของแผ่นดินไหวที่รายงานด้วยมาตราเมอร์คัลลีปรับปรุงใหม่ (Modified Mercalli scale) ที่แพลตฟอร์มเรียนรู้ออนไลน์ Project 14 สสวท.หนังสือเรียนโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ มัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ธรณีพิบัติภัยที่ https://proj14.ipst.ac.th/m4-6-earth/m4-earth-book1/earth-m4b1-008

มศว เผย “แผ่นดินไหว” พร้อมเป็นแกนกลางช่วยสังคม ยึดมั่น ‘มหาวิทยาลัยรับใช้สังคม’

จากกรณีภัยพิบัติทางธรรมชาติ เหตุการณ์แผ่นดินไหว ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา รองศาสตราจารย์ ดร.ชลวิทย์ เจียรจิตต์ รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยถึงการรับมือจากกรณีภัยพิบัติทางธรรมชาติ เหตุการณ์แผ่นดินไหวว่า “มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ประสานมิตร ตั้งอยู่ใจกลางย่านถนนอโศกมนตรีและได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเช่นเดียวกับอาคารที่ทำงาน บริษัท ห้างร้าน บนถนนอโศกเช่นเดียวกัน แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์อันน่าเศร้าสะเทือนครั้งใหญ่นี้ เราทุกคนต่างก็ Panic และต่างหนีตายกันอลหม่าน มศว ก็มีอาคารตึกสูง คือ อาคารสูง 22 ชั้น และ 18 ชั้น…

เสวนา Chula the Impact ครั้งที่ 32 จุฬาฯ ระดมความรู้ข้ามศาสตร์ “ฝ่าวิกฤตแผ่นดินไหว” ชวนคิด ชวนถาม เตรียมพร้อมรับมือและฟื้นตัวจากภัยพิบัติ

เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 กลายเป็นบททดสอบครั้งสำคัญที่สร้างความตื่นตระหนกและตั้งคำถามใหญ่ถึงความพร้อมของเมืองหลวงในการรับมือกับภัยธรรมชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะสถาบันวิชาการชั้นนำของประเทศ ตระหนักถึงบทบาททางวิชาการและความรู้ข้ามศาสตร์ที่สามารถนำมารับมือกับสถานการณ์ได้อย่างรอบด้าน จึงจัดงานเสวนา Chula the Impact ครั้งที่ 32 ภายใต้หัวข้อ “จุฬาฯ ระดมคิด ฝ่าวิกฤตแผ่นดินไหว: เราจะรับมือและฟื้นตัวได้อย่างไร?” เมื่อวันอังคารที่ 1 เมษายน 2568 เวลา 10.30 – 12.30 น. ณ เรือนจุฬานฤมิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  งานครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก…

สสวท. เติมความรู้ธรณีพิบัติภัยกับอีบุ๊ก “แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด และสึนามิ”

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เสริมความรู้ธรณีพิบัติภัยกับอีบุ๊ก“แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิดและสึนามิ” ทำความเข้าใจกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาซึ่งส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมแบบฉับพลันและรุนแรง พร้อมทั้งศึกษาถึงสาเหตุ กระบวนการเกิด ผลที่จะเกิดขึ้นและแนวทางการเฝ้าระวัง การปฏิบัติตนให้ปลอดภัยตลอดจนเตรียมพร้อมรับสถานการณ์เพื่อให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด เหมาะกับเยาวชนและผู้สนใจ ดาวน์โหลดฟรีอีบุ๊ก “แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิดและสึนามิ” ที่ คลังความรู้ SciMath สสวท. https://www.scimath.org/ebook-earthscience/item/8464