เจาะลึกเรื่องน่ารู้ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีชื่ออังกฤษคือ Kasetsart University ตัวอักษรย่อ มก. — KU  เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดสอนหลักสูตรทางด้านการเกษตรก่อตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 3 ของประเทศ ความเป็นมาของชื่อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แรกเริ่มเป็น โรงเรียนช่างไหม ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2447 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนการเพาะปลูก หลังจากนั้นรวมเข้ากับโรงเรียนแผนที่และโรงเรียนกรมคลองเป็น โรงเรียนเกษตราธิการ และถูกยุบรวมเข้ากับโรงเรียนข้าราชการพลเรีอนฯ ในปี พ.ศ. 2456 ต่อมาได้รับการก่อตั้งอีกครั้งในปี พ.ศ. 2460 ในนาม โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรม…

เจาะลึกเรื่องน่ารู้ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชื่อภาษาคืออังกฤษคือ Chiang Mai University ตัวอักษรย่อ มช. – CMU เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งแรกที่จัดตั้งขึ้นในส่วนภูมิภาค และเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งที่ 6 ของประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2507ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2551 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งอยู่ที่ไหน? มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีอยู่ที่เดียวคือ ที่จังหวัด เชียงใหม่ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ สีประจำมหาวิทยาลัย สีม่วงดอกรัก ไม่พบความหมายที่แน่ชัด สีนี้เกิดจากการผสมของสี MAGENTA…

เจาะลึกเรื่องน่ารู้ของมหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยมหิดล ชื่ออังกฤษคือ Mahidol University ตัวอักษรย่อ มม. – MU เดิมชื่อ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ความเป็นมาของชื่อมหาวิทยาลัยมหิดล ตอนเป็น มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เสด็จพระราชดำเนินเปิดตึกของโรงเรียนแพทย์ จึงได้พระราชทานนามใหม่ว่า โรงเรียนราชแพทยาลัย ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2460 โรงเรียนราชแพทยาลัยได้ถูกรวมเข้ากับโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ เพื่อสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมทั้งเปลี่ยนสถานะเป็น คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และถูกเปลี่ยนชื่อเป็น คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล ในวันที่ 2…

เจาะลึกเรื่องน่ารู้ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชื่ออังกฤษคือ Chulalongkorn University ตัวอักษรย่อ: จฬ. — CU เป็นมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทยถือกำเนิดจาก “โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน” ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2442 โดยมี “พระเกี้ยว” เป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียน และในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประดิษฐานขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย และพระราชทานนามว่า “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ที่ไหน? จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่มีวิทยาเขตแยกเหมือนมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ตั้งอยู่ที่เดียวคือที่กรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน…

เจาะลึกเรื่องน่ารู้ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีชื่ออังกฤษว่า Thammasat University; อักษรย่อคือ มธ. – TU เป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่สองของประเทศไทย ก่อตั้งในชื่อ “มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง” (มธก.) จากแนวคิดของศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ที่ต้องการจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่เน้นการเรียนการสอนเรื่องประชาธิปไตย และจากการรัฐประหารเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 ทำให้มหาวิทยาลัยได้รับผลกระทบอย่างมาก ผู้ประศาสน์การ ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ต้องลี้ภัยการเมืองไปอยู่ต่างประเทศ ชื่อมหาวิทยาลัยถูกตัดคำว่า “การเมือง” ออก เปลี่ยนเป็น “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตั้งอยู่ที่ไหน?…

สทศ. จัดสอบอะไรบ้าง?

สทศ. มีชื่อเต็มคือ สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน) ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “National Institute of Educational Testing Service (Public Organization)” เรียกโดยย่อว่า “NIETS” อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สทศ. จัดสอบอะไรบ้าง? 1. O-NET มีชื่อเต็มว่า  Ordinary National Educational Test  คือการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน เพื่อทดสอบระดับความรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามมาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน…

จะสมัครรอบพอร์ต ต้องทำอะไร? เช็กอะไรบ้าง?

ตอนนี้น้องๆ #dek65 หลายคน น่าจะมีความกังวลไม่มากก็น้อยกับสถานการณ์ตอนนี้ ทั้งเรื่องเรียนออนไลน์ งานที่ต้องส่ง และรอบพอร์ตที่มาถึง ว่าควรเช็ก ควรทำอะไรก่อนหลังดี พี่แฮนด์เลยขอมาแนะนำสิ่งที่ต้องเช็ก ที่น้องๆต้องรู้ก่อนการสมัคร #TCASรอบที่1 รอบ #Portfolio กันก่อนนะครับ 1.เช็กตัวเอง ชอบอะไร อยากเรียนอะไร การมีเป้าหมายเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ในการจะเริ่มลงมือทำอะไรซักอย่าง ไม่ว่าเรื่องอะไร เรื่องเรียน เรื่องสมัครสอบ TCAS ก็เช่นกัน ไม่ว่าจะรอบไหนๆ น้องๆควรต้องรู้จักตัวเองก่อนเป็นอันดับแรก ว่าเราอยากเรียนอะไร เข้าคณะอะไร เพราะถ้าเราไม่รู้ว่าอยากเรียนอะไร คงยากที่จะวางแผน และเมื่อไม่มีทั้งเป้าหมายและแผน ความสำเร็จคงยากครับที่จะเป็นจริงได้ 2.เช็กตัวเอง อยากเข้าที่ไหน เมื่อมีเป้าหมายคณะที่อยากจะเข้าแล้ว ก็มาดูว่าคณะที่เราอยากเข้า มีที่ไหนเปิดบ้าง…

อาชีพมาแรงมีอาชีพอะไรบ้าง แล้วควรเรียนต่อคณะอะไรดี

อาชีพมาแรงที่ได้รับความนิยมในช่วงนี้ และยังมีผลต่อในระยะยาวในอีก 10 ปีข้างหน้า แล้วถ้าเราอยากจะทำอาชีพเหล่านี้ ควรเรียนต่อคณะอะไรดี ผลสำรวจมาจาก Jobs on the Rise ของ LinkedIn 1.Digital content ในสังคมปัจจุบันเรียนได้ว่าเป็นสังคมออนไลน์ เพราะพฤติกรรมของคนในปัจจุบันเสพสื่อในอินเตอร์เน็ตมากกว่าที่จะดูหนังสือพิมพ์แล้ว อาชีพนี้ถือว่ามาแรงเลยทีเดียว อาชีพมาแรงได้แก่ Editor, Copywriter, Podcaster, YouTube Content Creator, และ Video Editor คณะที่เรียนเกี่ยวกับอาชีพเหล่านี้ก็คือ คณะนิเทศศาสตร์ มหาลัยที่เปิดสอนเช่น มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ…

5 ทริกเล็ก ๆ จะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเราเหมาะที่จะเรียนต่อคณะไหน

  เมื่อเข้าสู่ช่วงที่จะต้องตัดสินใจเพื่อเรียนต่อในระดับชั้นปริญญาตรีก็ยังมีใครอีกหลาย ๆ คนที่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเข้าเรียนคณะไหนดี วันนี้มี 5 ทริกเล็ก ๆ เพื่อเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจในการเลือกเข้าเรียนในคณะที่เราชอบและเหมาะกับเราที่สุดนั้นเอง 1.รู้นิสัยของตัวเอง การที่เราจะเลือกเรียนต่อคณะอะไรนั้นนิสัยส่วนตัวมีผลเป็นอย่างมาก เพราะจะส่งผลในเรื่องการเรียนของเราด้วยเมื่อเรารู้นิสัยของตัวเองก็จะพอประเมินได้ว่าเรานั้นอยากเข้าคณะอะไร เช่นเป็นคนร่าเริง ชอบแสดงออก ชอบเข้าสังคมกับคนหมู่มาก ก็ประเมินได้ว่าเรานั้นเหมาะที่จะเรียนเกี่ยวกับคณะนิเทศศาสตร์ 2.สายการเรียนที่เรียนอยู่ของตนเอง สายการเรียนที่เราเรียนอยู่จะเป็นตัวช่วยการเลือกคณะในอนาคตได้ดี เราเรียนสายการเรียนอะไรแล้วเราก็ดูว่าคณะที่เราเข้าได้นั้นมีคณะอะไรบ้าง ถ้าเรียนสายสายศิลป์-ภาษา สายศิลป์คำนวนก็จะมีคณะที่รับเข้าเรียนในด้านสายนี้ เช่น คณะอักษรศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะนิเทศศาสตร์ ถ้าเรียนสายวิทย์-คณิตก็จะสามารถไปได้หลายคณะมาก ๆ สำหรับสายการเรียนนี้ เช่น คณะแพทยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์…

รีวิวการเรียนคณะนิเทศศาสตร์ สาขาภาพยนตร์

คณะนิเทศศาสตร์ เป็นคณะที่หลาย ๆ คนคิดว่าเรียนง่าย แต่ความเป็นจริงแล้วนั้นถ้าไม่ได้ชอบก็เรียนยากเหมือนกันคณะอื่น ๆ เช่นเดียวกัน คณะนิเทศศาสตร์ สาขาภาพยนตร์เมื่อพูดถึงทุก ๆ คนก็ต้องพอรู้แล้วว่าการเรียนคณะนี้ต้องเกี่ยวกับการทำภาพยนตร์แน่ ๆ และเมื่อเข้าไปเรียนแล้วเราจะเรียนรู้เกี่ยวกับอะไรบ้าง เรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนบทภาพยนตร์ ในการจะทำภาพยนตร์นั้นจะต้องมีบทภาพยนตร์เป็นอย่างแรก แต่การจะได้บทภาพยนตร์หนึ่งเรื่องไม่ใช่เรื่องง่าย จึงต้องมีเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับลำดับการเขียนบทภาพยนตร์เพื่อให้ได้บทภาพยนตร์ที่สมบูรณ์แบบนั้นเอง เรียนรู้เกี่ยวกับลำดับการทำงานของภาพยนตร์หนึ่งเรื่อง การทำภาพยนตร์ออกมาหนึ่งเรื่องนั้นมีหลายขั้นตอนมาก ๆ และแต่ละขั้นตอนไม่สามารถทำข้ามกันได้จึงต้องเรียนรู้ก่อนที่จะเริ่มทำภาพยนตร์จริง ๆ ได้เรียนรู้นอกห้องเรียนมากว่าเรียนในห้องเรียน การเรียนภาพยนตร์นั้นส่วนใหญ่แล้วจะเน้นปฏิบัติจริงทำจริง ส่วนน้อยมากที่จะอยู่ในห้องเรียน เพราะอาจารย์จะให้เวลาที่ต้องเรียนในห้องเรียนนั้นออกไปถ่ายทำภาพยนตร์ ได้เรียนรู้การทำงานกับคนจำนวนมาก การทำภาพยนตร์หนึ่งเรื่องไม่สามารถทำออกมาสำเร็จได้ด้วยตัวคนเดียวจึงต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น ทำให้เราจะได้เจอกับคนหลายประเภทและต้องเรียนรู้ที่ต้องปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ เรียนรู้เกี่ยวกับมุมภาพของภาพยนตร์ ภาพที่เราเห็นในภาพยนตร์ถูกออกแบบออกมาก่อนแล้วที่จะถ่ายทำเพื่อให้เกิดความสวยงามและแต่ละมุมภาพจะมีความหมายซ่อนอยู่ เราจะได้เรื่องรู้ความหมายของมุมภาพต่าง…