สสวท. เผย เทคนิค Active Learning เนื้อหาจาก Online Seminar

สสวท. เผย เทคนิค Active Learning เนื้อหาจาก Online Seminar

วิทยากร : Mr.Glen D. Westbroek ; Award-winning Science Teacher, Orem Junior High School, Utah, USA Milken Family Foundation Recipient Presidential Award for Excellence in Math and Science Education Utah Governor’s Medal for Science…

‘อัมพร’ลั่นปีการศึกษาหน้า มุ่งเป้าจัดทำหลักสูตรฐานสมรรถนะ ควบคู่เรียน-สอนแบบ Active Learning – 25 สิงหาคม 2565

  เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2565 นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯกพฐ.) เผยหลังการเข้าประชุมนโยบายเร่งด่วนเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ สพฐ.  ร่วมกับ นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เริ่มตั้งแต่การจัดการเรียนการสอนภายใต้สถานการณ์โควิด ซึ่งพบปัญหาการเรียนรู้ถดถอยของนักเรียนใน 2 มิติ มิติด้านการเรียนรู้ มิติด้านสังคม โดย สพฐ.ได้แก้ไขด้วยการเติมเต็มคุณภาพด้านการอ่านออกเขียนได้และคิดเลขเป็นอย่างเข้มข้นให้แก่เด็กประถมศึกษาปีที่ 1-3 ส่วนระดับมัธยมศึกษาเน้นการทำกิจกรรมแบบละลายพฤติกรรม นอกจากนี้ตนยังได้รายงานโครงการพาน้องกลับมาเรียนที่ตั้งเป้าเด็กหลุดออกนอกระบบการศึกษาจะต้องเป็นศูนย์ พร้อมวางแผนป้องกันไม่ให้เด็กออกจากระบบการศึกษาไปอีก รวมไปถึงการวางระบบให้เด็กใหม่ที่เพิ่งเข้าเรียนต้องไม่หลุดจากระบบการศึกษาด้วย   นายอัมพร…

“อัมพร” สั่งสำรวจ โรงเรียนสอนแบบแอคทีฟเลิร์นนิ่ง เน้นดูแลโรงเรียนขนาดเล็ก ก่อน 1 ตุลาคม – 6 กรกฎาคม 2565

  เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2565 ดร.อัมพร  พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวในการประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่(สพท.) ทั่วประเทศ ผ่านระบบระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ว่า ขอเน้นย้ำให้ ผอ.สพท.เร่งดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอน การประเมินผลให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยคำนึงถึงนักเรียนเป็นรายบุคคล ชั้น ป.1-3  ให้เน้นอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น  ป.4-6 เพิ่มเติมในเรื่องทักษะชีวิต ม. 1-3 เน้นสร้างความหลากหลาย เพิ่มทางเลือก และต่อยอดเสริมในส่วนที่ขาด ส่วน ม.4-6 เน้นส่งเสริมอาชีพที่เด็กต้องการ…

Active Learning รูปแบบการเรียนการสอนสำหรับคนยุคใหม่…(ครู)นำมาประยุกต์ใช้อย่างไรดี?

  ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทำให้การสื่อสารเข้าถึงกันได้ง่าย รวมถึงการเข้าถึงแหล่งข้อมูลสามารถที่สามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ในด้านการศึกษาผู้เรียนจำเป็นจะต้องมีความสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องและเป็นผู้แสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา   ประกอบกับปัจจุบันที่องค์ความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ทำองค์ความรู้และเนื้อหาในวิชาต่างๆ มีมากเกินกว่าที่จะเรียนรู้จากในห้องเรียนได้หมดนอกจากนี้ยังส่งผลให้การสอนแบบเดิมด้วยการ “พูด บอก เล่า” ไม่สามารถจะให้การเรียนรู้และพัฒนาให้ผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับยุคนี้ ดังนั้น ผู้สอนจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมแห่งเทคโนโลยีนี้ จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน จากผู้สอนคือผู้ถ่ายทอด ปรับเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ชี้แนะวิธีการค้นคว้าหาความรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถแสวงหาความรู้และประยุกต์ใช้ทักษะต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม       ซึ่งในการจัดการเรียนรู้นั้นเราควรจะต้องทราบถึง ปิรามิดแห่งการเรียนรู้  หรือการแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของมนุษย์ผ่านวิธีการต่างๆ เสียก่อน ซึ่งปีรามิดแห่งการเรียนรู้นี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ คือ  …