มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ จับมือกับ DEPA เปิดตัวโครงการ ” Coding for metaverse พาคุณครูก้าวสู่โค้ดดิ้งกับการสร้าง GAME SKILL”

กรุงเทพฯ 4 ตุลาคม 2565 – มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) จัดโครงการการเขียนโค้ดสำหรับโลกนฤมิต (Coding for Metaverse) ยกระดับเยาวชนให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม สามารถเขียนโปรแกรมต่อยอดประยุกต์ใช้สร้างโลกเสมือนจริง ผ่านแพลตฟอร์ม Roblox โดยผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์วิจัยมัลติมีเดีย อินเทลลิเจ้นท์ เทคโนโลยี (Multimedia Intelligent Technology) และคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ  โดยตั้งเป้าให้เยาวชนที่เข้าร่วมอบรมนำความรู้พื้นฐานทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปต่อยอดสู่การสร้างโลกเสมือน รวมถึงพัฒนาเครือข่ายการเรียนการสอนโค้ดดิ้งให้เข้าถึงนักเรียนทั่วประเทศ เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นพลเมืองแห่งโลกดิจิทัลในอนาคต  โดยตั้งเป้าพัฒนานักเรียนในเครือข่ายการเรียนรู้โค้ดดิ้งไม่น้อยกว่า 10,000 คน ทั่วประเทศ…

ความแตกต่างระหว่างการศึกษาในห้องเรียนและการศึกษาในMetaverse

ในปี2022เทคโนโลยีกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ในยุคปัจจุบันไม่ว่าจะกินจะนอนจะไปที่ไหนๆเทคโนโลยีก็ตามติดเราไปเช่นกัน แม้กระทั่งการเรียนของเด็กนักเรียนตั้งแต่เตรียมอนุบาลจนไปถึงระดับอุดมศึกษาก็ต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาทำการเรียนการสอนเช่นกัน และเทคโนโลยีใหม่ที่ทำให้วงการการศึกษาได้เปลี่ยนไปนั่นคือ Metaverse ตามความหมายของราชบัณฑิตยสถานคือ จักรวาลนฤมิตร โลกเสมือนที่ผลิตโดยใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกและเทคโนโลยีอื่นๆอีกมากมาย Metaverse เป็นโลกที่ไร้พรมแดนเราจะไปเที่ยวที่ไหนจะเรียนวิชาอะไรก็สามารถได้ด้วยปลายนิ้ว แล้วแบบนี้Metaverseกับการเรียนในห้องเรียนมันแตกต่างอย่างไร แล้วเทคโนโลยีจะมาแทนที่การเรียนในห้องเรียนหรือไม่บทความนี้เพชรจ้าชวนนักอ่านทุกท่านมาร่วมหาคำตอบว่า การเรียนในห้องเรียนหรือการเรียนในMetaversแบบไหนจะดีกว่ากัน การเรียนในห้องเรียน การเรียนในห้องเรียนเป็นวิถีของการเรียนที่ทำกันมาจากรุ่นสู่รุ่นไม่ว่าจะผู้ใหญ่คนไหนหรือเด็กๆนักเรียนนักศึกษาคนไหนก็ต้องเคยผ่านการนั่งเรียนในห้องเรียนด้วยกันทั้งสิ้น การเรียนในห้องเรียนทำให้เราได้พบเพื่อนๆในชั้นเรียนจะสนิทหรือไม่สนิทก็ตามได้พบคุณครูที่มอบความรู้ต่างๆและการที่ได้แชร์ความรู้ความสัมพันธ์กับเพื่อนๆ ข้อดีของการเรียนในห้องเรียน  เพื่อนร่วมชั้นเรียน การพบปะกันในห้องเรียนถือเป็นการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ขั้นพื้นฐานของน้องๆนักเรียน ในห้องเรียนถึงจะเป็นห้องสี่เหลี่ยมไม่ใหญ่มากจากประสบการณ์ของเพชรจ้า เพชรจ้าคิดว่าห้องเรียนเปรียบเสมือนโลกอีกโลกหนึ่ง เราจะได้เจอกับเพื่อนหลากหลายประเภท บทสนทนาหลากหลายเรื่องราว และความสัมพันธ์อีกมากมาย กิจกรรมในห้องเรียน หากเรียนอย่างเดียวน้องๆอาจจะเบื่อกับการเรียนแบบเดิมหากได้กิจกรรมเข้ามาช่วยเสริมการเรียนแบบเดิมคงสนุกน่าดู กิจกรรมที่มักจะทำในห้องเรียนเช่นการตอบคำถามชิงคะแนนการเล่มเกมร่วมกันเป็นทีม การทดลองทางวิทยาศาสตร์อย่างง่ายและการทำอาหาร  หวานใจในโรงเรียน ในวัยเรียนหลายๆคนต้องเคยมีหวานใจหรือแรงใจที่ทำให้เราอยากมาโรงเรียนอย่างแน่นอน และหวานใจก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้มีกำลังใจอยากจะมาเรียนไม่ว่าหวานใจอยู่ห้องเดียวกันหรือต่างห้อง รุ่นพี่ หรือ รุ่นน้อง…

รู้หรือไม่?! ราชบัณฑิตฯบัญญัติคำ ‘Metaverse’ แปลว่า ‘จักรวาลนฤมิต’

  หลายคนอาจจะคุ้นหูกับคำว่า “Metaverse” แต่ทราบกันไหมคะว่าจริง ๆ แล้ว ราชบัณฑิตยสถานได้มีการบัญญัติคำนี้ในภาษาไทยเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2565 ในการประชุมคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์นิเทศศาสตร์ร่วมสมัย ราชบัณฑิตยสภา สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ซึ่งมีมติให้บัญญัติคำว่า “Metaverse” ที่ แปลเป็นไทยว่า “จักรวาลนฤมิต” นั้นเองค่ะ อีกทั้งยังได้มีการกำหนดคำทับศัพท์ภาษาไทยไว้โดยสามารถเขียนได้ว่า “เมตาเวิร์ส” . แล้ว Metaverse คืออะไร? แปลได้ตรงตามคำภาษาไทยเลยค่ะ จักรวาลนฤมิตก็คือจักรวาลที่ถูกเปลี่ยนแปลงหรือสร้างขึ้นมาใหม่ ซึ่งได้รับกระแสนิยมในช่วงนี้จากการที่หลังจากที่ มาร์ก ซัคเกอร์เบิร์ก ประธานบริษัทเมทา (ชื่อใหม่ของบริษัทคอนเน็คท์คอนเฟอร์เรนซ์ บริษัทเจ้าของเฟสบุ๊ก) ได้เปิดตัวแพลตฟอร์มเสมือนจริง  “เมตาเวิร์ส”  –  “Metaverse” หรือ…