เปิดเกณฑ์คะแนน-ค่าน้ำหนัก ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์! – น้อง ๆใน #TCAS66 รอบที่ 3 เตรียมตัวได้เลย!

  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เปิดเกณฑ์คะแนนและค่าน้ำหนัก TCAS รอย 3 ปีการศึกษา 2565 ไปดูกันเลย! . เกณฑ์คะแนน-ค่าน้ำหนัก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ TCAS66 . แหล่งที่มา : Thammasat University  

#Dek66 รู้ยัง!? TCAS66 update ล่าสุด มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง มาฟัง!!

สวัสดีค่ะน้องๆ #Dek66 ทุกคน หลังจากเปิดเทอมมาได้สักพักแล้วพี่ลูกหวายเชื่อว่าตอนนี้ น้องๆคงกำลังเตรียมตัวหาข้อมูลสอบเข้ามหาวิทยาลัยกันอยู่ใช่มั้ยคะ ถ้า #Dek66 คนไหนกำลังอ่านบทความนี้อยู่ก็มาถูกทางแล้วละค่ะ เพราะว่าวันนี้พี่ลูกหวายจะมาแจ้งข้อมูลสำคัญของ TCAS66 ให้น้องๆได้ทราบกัน ว่ามีอะไรเปลี่ยนไปจากเดิมบ้าง ใครพร้อมแล้วก็ตามมาเลยค่ะ Let’s go! 1. ข้อมูลและกำหนดการ TCAS66 รายละเอียดของการสอบคัดเลือกใน TCAS66 ยังคงเป็นการรับสมัคร 4 รอบ 4 รูปแบบการคัดเลือก ประกอบไปด้วย รอบที่ 1 Portfolio, รอบที่ 2 Quota,…

คุยกันเรื่องอาหาร? – รีวิวคณะเทคโนโลยีคหกรรม สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร!

           ในช่วงสถานการณ์โควิด 19 ที่ผ่านมา น้อง ๆ หลายคนก็ได้มีเวลาอยู่กับตัวเองมากขึ้น ได้ใช้เวลาว่างในการทำสิ่งต่าง ๆ ซึ่งการใช้เวลาว่างเหล่านี้เนี้ย พี่ออมเชื่อว่าทำให้น้อง ๆ หลายคนเกิดแรงบันดาลใจในการศึกษาต่อด้านต่าง ๆ นับว่าเป็นเรื่องที่ดีมากเลยค่ะที่เราได้เจอในสิ่งที่ชอบ พี่ออมคิดว่า การทำอาหาร การทำขนม เป็นอีกหนึ่งงานอดิเรกยอดฮิตที่น้อง ๆ บางคนอาจจะเพิ่งค้นพบความสามารถของตัวเองหลังจากได้ใช้เวลาไปกับมันใช่ไหมคะ วันนี้พี่ออมจะพาน้อง ๆ ไปพบกับ พี่เบส วัชรินทร์ สายเครือคำ รุ่นพี่ชั้นปีที่ 3 คณะเทคโนโลยีคหกรรม สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ…

MonkeyEveryday – เครื่องมือทางลัดในการนำทางสู่มหาวิทยาลัย!

​​เครื่องมือทางลัดในการนำทางสู่มหาวิทยาลัย!        ช่วงเวลาแห่งการสอบเข้ามหาวิทยาลัยก็วนกลับมาอีกครั้งแล้วนะคะ ระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนแปลงแทบตลอดเวลาพร้อมทั้งสถานการณ์โควิดแบบนี้ทำให้น้อง ๆ ต้องแบกรับความกดดันจากหลายสาเหตุ หากจะให้สรุปปัญหา TCAS65 ที่เด็กต้องเผชิญก็คงแบ่งเป็นประเด็นต่าง ๆ ได้ดังนี้        เริ่มตั้งแต่ประเด็นดราม่าเมื่อช่วงปลายที่ 2564 เกี่ยวกับความล่าช้าในการออกระเบียบการของแต่ละมหาวิทยาลัย รวมไปถึงแนวข้อสอบ ซึ่งทาง ทปอ. กล่าวว่าจะประกาศในเดือนธันวาคม แต่การสอบจะเกิดขึ้นในเดือนมีนาคม ส่งผลทำให้น้อง ๆ มีเวลาในการเตรียมตัวน้อยเนื่องจากตรงกับช่วงเปิดเทอมในภาคเรียนที่ 2 ที่ถือเป็นอุปสรรคทั้งการเรียนรูปแบบออนไลน์ควบคู่ไปกับการเตรียมตัวสอบ นอกเหนือจากนี้แล้ว แนวข้อสอบที่ออกมายังกว้างเกิดกว่าที่จะสามารถอ่านได้ทันและครอบคลุมทั้งหมด ที่สำคัญคือแนวข้อสอบที่ออกมายากต่อการค้นหาเฉลย…

เด็ก TCAS 65 ร้องว้าว! สจล. พารีวิว 4 สาขามาแรง ผลิตนักศึกษาเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจแห่งอนาคต นวัตกรรมวัสดุ-การบินและอวกาศ-เทคโนโลยีเกษตร-วิศวกรรมเสียง    

กรุงเทพฯ 25 มีนาคม 2565 –  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) รีวิว 4 คณะ วิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ คณะเทคโนโลยีการเกษตร วิทยาลัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมวัสดุ และวิทยาลัยวิศวกรรมสังคีต รับเทรนด์สายอาชีพในกลุ่มธุรกิจที่จะมาแรงยุคโพสต์โควิด (Post COVID-19) อาทิ ธุรกิจการท่องเที่ยว สินค้านวัตกรรม ธุรกิจนิทรรศการ-คอนเสิร์ต ธุรกิจเกษตร ฯลฯ  โดย สจล. มีการพัฒนาหลักสูตรรวมถึงการเร่งพัฒนาห้องปฏิบัติการสุดทันสมัย เปิดให้นักศึกษาได้ลงมือทำจริง เรียนรู้จริง เกิดทักษะจริง เตรียมพร้อมสู่โลกของการทำงานได้อย่างมั่นใจ   รศ.…

6 คำถามยอดฮิตเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มคณะสายเฉพาะทางที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดโลก!

เทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มคณะสายเฉพาะทางที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดโลก! ไปพบกับ 6 คำถามยอดฮิตที่จะคลายทุกความสงสัย จบไอทีต้องซ่อมคอมได้หรอ? จบไปทำงานอะไร?   เป็นยังไงกันบ้างคะน้อง ๆ กับ 6 คำถามเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศที่พี่ออมเอามาฝากกัน เรียกได้ว่าเป็นสาขาที่เหมาะกับยุคแห่งการเติบโตทางเทคโนโลยีในตอนนี้เลยก็ว่าได้นะคะ สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจอยากเรียนคณะหรือสาขาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ พี่ออมขอรับประกันว่าไม่ผิดหวังแน่นอนค่ะ

คุยกันเรื่องมนุษย์? – รีวิวคณะมนุษยศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยรามคำแหง!

มหาวิทยาลัยรามคำแหง กับวลี “เข้าง่ายออกยาก” วันนี้พี่ออมจะพาน้อง ๆ ไปพูดคุยกับ พี่เน่ ปภาวรินทร์ ชุ่มเชิดฉาย รุ่นพี่คณะมนุษยศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่จะมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนมหาวิทยาลัยแบบไม่เคยเข้าห้องเรียนเลยสักครั้งกับการเรียนแบบพึ่งพาตนเอง   ปภาวรินทร์ยิ้มทักทายก่อนเริ่มบอกเหตุผลในการเลือกเรียนเอกภาษาอังกฤษกับพวกเราว่า “ตั้งแต่มัธยมเรารู้ตัวชอบเรียนภาษาใหม่ ๆ ก็เรียนสายภาษาจีนแต่ว่ารู้สึกทรมานกับการเรียนภาษาจีนมาก ขึ้นมหาวิทยาลัยก็เลยลองเลือกเรียนอะไรเราถนัด ซึ่งตั้งแต่ประถมเราก็เรียนสองภาษามาตลอด เป็น bilingual ก็เคยคิดว่าเราสนุกกับภาษาอังกฤษเลยเลือกเรียนภาษาอังกฤษดีกว่า พอเลือกแล้วก็ทรมานนิดหน่อยแต่ก็สนุกกว่าที่ผ่านมา”   ปภาวรินทร์ตอบคำถามกับเราว่าทำไมถึงเลือกเรียนที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง “ตอนแรกเลยเราก็ไม่ได้เรียนที่รามนะ เรียนที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษเพื่อการบริการ พอเรียนไปปีนึงละรู้สึกว่าเจอตัวเองมาก…

แนะนำอาชีพ “นักนิติวิทยาศาสตร์” — ความหมาย หน้าที่ ต้องเรียนจบอะไรมา?

ท่ามกลางกระแสข่าวที่เกิดเหตุการณ์สลดใจหลายต่อหลายครั้ง อาจทิ้งปริศนาที่ “ศพ” ต้องกลายเป็นคนพูดเอง แต่เดี๋ยวก่อน คำว่าศพพูดเองนั้นไม่ได้หมายความว่าศพจะลุกขึ้นมาพูดเองจริง ๆ นะคะ แต่หมายถึงการที่เราหาความจริงจากร่องรอยที่อยู่บนร่างกายของคน ๆ นั้น หรือสภาพแวดล้อมในที่เกิดเหตุ วันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับอาชีพ “นักนิติวิทยาศาสตร์”   นิติวิทยาศาสตร์ คือการนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เช่น ชีววิทยา ฟิสิกส์ กายภาพ เคมี คอมพิวเตอร์ และ กีฏวิทยา มาใช้ในการเก็บและพิสูจน์หลักฐาน ทั้งการตรวจร่างกาย วัตถุพยานเพื่อนำมาซึ่งข้อเท็จจริงที่จะเป็นประโยชน์ในการสืบสวนและการดำเนินคดีตามกฏหมาย  ในประเทศไทย นิติวิทยาศาสตร์จะเกี่ยวข้องกับด้านนิติเวชศาสตร์…

DELTAs — 13 ทักษะเพื่ออาชีพในอนาคตจาก McKinsey

ปัจจุบันดิจิทัลและเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการทำงานเป็นอย่างมาก ส่งผลทำให้คนเราจำเป็นที่จะเปิดรับทักษะใหม่ ๆ และปรับตัวให้เข้ากับอาชีพที่กังจะเกิดขึ้นนอนาคต ด้วยเหตุนี้ McKinsey บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำของโลกจากอเมริกาได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับอาชีพที่สูญหายไปและอาชีพที่กำลังจะเกิดขึ้นใหม่ในอนาคต จึงเกิดเป็นการสำรวจเกี่ยวกับเรื่อง “Future Skill” หรือทักษะในอนาคตที่จำเป็นต้องมีสำหรับ “Future of Work” ซึ่งมีผู้เข้าร่วมมากถึงกว่า 18,000 คนจาก 15 ประเทศ จากผลสำรวจพบว่า ถ้าจะอยู่รอดในอนาคตจำเป็นต้องมี 56 ประกอบ 13 ทักษะใน 4 หมวดสำคัญ ที่ McKinsey เรียกรวมกันว่า “DELTAs (Distinct…

ทำไมเด็กไทยจึงต้องติว — แบบสำรวจความเห็นจากชุมชน Eduzones

การติว หรือเรียนพิเศษ เป็นการศึกษาเพิ่มเติมนอกห้องเรียนปกติ ในประเทศไทยการติวกลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเข้าศึกษาต่อทั้งในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา ทำให้ธุรกิจสถาบันกวดวิชาเติบโตมากมายชนิดที่เรียนได้ว่าแทบจะมีทุกย่อมหญ้า . แล้วทำไมเด็กไทยจึงต้องติว? จากผลสำรวจผ่านเฟสบุ๊กแฟนเพจ Eduzones และ Wiriyah Eduzones ในหัวข้อ “ทำไมนักเรียนไทยต้องติว?”  โดยเก็บข้อมูลภายในวันที่ 4 มีนาคม 2565 พบการแสดงความคิดเห็นเรียงลำดับได้ ดังนี้ . อันดับที่ 1 นักเรียนไทยต้องติวเพราะเนื้อหาข้อสอบที่ใช้สอบเข้าไม่มีอยู่ในชั้นเรียน ตัวอย่างความคิดเห็น อันดับที่ 2 นักเรียนไทยต้องติวเพราะการสอนของอาจารย์ ตัวอย่างความคิดเห็น อันดับที่ 3 นักเรียนไทยต้องติวเพราะเหตุผลอื่น…